• 11 October 2024

ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลบางชนิดเมื่อดูด้วยตาเปล่าก็อาจคิดว่าเป็นพืช แต่เมื่อนักบรรพชีวินวิทยากลับมาศึกษาใหม่บางครั้งก็พบว่าซากนั้นๆ ไม่ใช่พืช ทว่าเป็นสัตว์ต่างหาก ดังกรณีของทีมวิจัยนำโดยฟาเบียนีเฮอร์เรรา นักบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์ ฟิลด์ ในนครชิคาโก สหรัฐ อเมริกา ร่วมกับเฮคเตอร์ พัลมา-คาสโตร นัก ศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโคลอมเบีย และนักวิจัยจากมหา วิทยาลัยเดล โรซาริโอ ในโคลอมเบีย ที่อธิบายซากฟอสซิลที่ค้นพบในพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 2,100 เมตรใน Villa de Levya เมืองเล็กๆในโคลอมเบีย เมื่อกว่า 50 ปีก่อน

ฟอสซิลดังกล่าวเป็นรอยนูนบนหินทรงกลม เดิมทีถูกอธิบายว่าเป็นพืชสายพันธุ์ Sphenophyllum colom bianum ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ค้นพบโดยนักบวชในพื้นที่คนหนึ่ง ซึ่งทีมวิจัยคาดว่าฟอสซิลนี้มาจากยุคครีเตเชียสตอนต้นเมื่อ 113-132 ล้านปีก่อน แต่ที่น่าสนใจคือเมื่อตรวจสอบแล้ว เห็นได้ชัดว่าเส้นที่คิดว่าเป็นท่อเลี้ยงของพืชกลับไม่ตรงกับที่คิดไว้ และยิ่งมั่นใจว่าเส้นเหล่านั้นเหมือนกระดองเต่ามากกว่า ทั้งยังระบุว่านี่ไม่ใช่แค่เต่าเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างเต่าที่ฟักออกมาด้วย เพราะมันมีขนาดเล็ก ดังนั้นก็คือลูกเต่านั่นเอง

ทีมเผยว่า นับเป็นเรื่องยากที่จะพบฟอสซิลลูกเต่า เพราะเมื่อเต่ายังเด็กเล็กมากๆ กระดูกในกระดองจะบางมาก จึงสูญสลายหายไปได้ง่าย ทีมวิจัยแจกแจงว่าฟอสซิลนี้เป็นด้านในของกระดองของลูกเต่า ซึ่งเจ้าเต่าตัวนี้น่าจะตายตอนที่มีอายุเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น.

(Credit : Photo by Fabiany Herrera and Héctor Palma-Castro)

ที่มาข้อมูล thairath.co.th

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *