• 21 November 2024

วิตามินและแร่ธาตุเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ แต่การกินและช่วงเวลาก็มีผล แบบไหนถึงจะดีที่สุดสำหรับร่างกายของเรากันนะ?

นอกจาก วิตามินและแร่ธาตุ จะช่วยชะลอความเสื่อมของสุขภาพและความเสื่อมที่เกิดจากสารอนุมูลอิสระแล้ว การรักษาระดับวิตามินให้คงที่และเหมาะสมยังช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ดีด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเราได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายหรือไม่ ในปัจจุบันเรายังเห็นสินค้าในหมวดหมู่ของอาหารเสริม และวิตามินเสริมมากมายที่เราได้ยินชื่อและคุ้นเคยกันมาก คือ แคลเซียม

ในผู้ใหญ่อายุ 18 – 50 ปี จะมีความต้องการแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี มีความต้องการแคลเซียม ประมาณ 1,200 มิลลิกรัม อาหารจากธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยแคลเซียม คือ นม และผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด ชีส ถั่วเหลือง เต้าหู้ ปลาซาดีน ปลาแซลมอน ถั่วลิสง วอลนัท เมล็ดทานตะวัน บรอกโคลีและกะหล่ำใบเขียว รวมไปถึงกระดูกอ่อนอีกด้วย 

หากร่างการขาดแร่ธาตุแคลเซียม จะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก โรคกระดูกบางหรือพรุนในผู้ใหญ่ และอาจทำให้เกิดภาวะกระดูกหักง่าย ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดแคลเซียม และควรรับประทานอาหารเสริม ได้แก่ 
1. ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน และวัยหมดประจำเดือน 
เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง ประกอบกับมีการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลง เกิดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน และกระดูกบาง
2. ผู้ที่ไม่สามารถรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมได้ เช่น ผู้ที่แพ้เอมไซน์แล็กโทสในนม รวมถึงผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ บุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ 

ในปัจจุบันจากงานวิจัยพบว่า แคลเซียมที่ดูดซึมได้มากที่สุด คือ แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต พลัส เป็นแคลเซียมรูปแบบพิเศษจากกระบวนการสกัดวิตามันซีในข้าวโพด มีคุณสมบัติละลายน้ำได้ จึงสามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้มากถึง 95% ทำให้ลดการสะสมของผลึกแคลเซียมที่ไตและลดผลข้างเคียงเรื่องอาการท้องผูก ไม่เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มแคลเซียมจนเกิดเป็นตะกรันบริเวณผนังหลอดเลือดซึ่งเป็นความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดอุดตันตามมา

แคลเซียม กินตอนไหนถึงจะดี?

แคลเซียมจะถูกดูดซึมได้ดีที่สุดหากรับประทานหลังอาหารและก่อนนอน หรือรับประทานตอนท้องว่าง แม้ว่าจะเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการแต่การรับประทานมากเกินกว่า 2,500 มิลลิกรัม/วัน อาจทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องผูกเพิ่มความเสี่ยงของนิ่วในไตและการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

ไม่ควรรับประทานแคลเซียมเสริม ขณะที่รับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง ยิ่งไปกว่านั้นการรับประทานอาหารประเภทไขมันหรืออาหารที่มีกรดออกซาริก เช่น ช็อกโกแลต ผักโขม และธัญพืชบางชนิดจะขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม ปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการตรวจความต้องการวิตามินในเลือดที่เรียกว่า การตรวจเลอดวิเคราะห์ปริมาณวิตามินและสารต้านอะนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นวิธีการดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล ทำให้ทราบถึงความต้องการของร่างกายและสามารถเลือกบริโภคเฉพาะวิตามินอาหารเสริมที่จำเป็นเฉพาะบุคลเป็นวิธีที่ดีกว่า และให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนการรับประทานวิตามินเสริมโดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่มีความต้องการทางโภชนาการเป็นพิเศษ

ที่มา : pptvhd36.com

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *