• 21 December 2024

ประโยชน์ของ “มัทฉะ” เครื่องดื่มดีต่อสุขภาพ “มัทฉะ” เป็นชาที่อุดมไปด้วยสารคาเทชิน กรดอะมิโนที่เรียกว่า แอล-ธีอะนีน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ไมว่าจะเป็นช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน นิยมที่มักนำมาผสมอยู่ในขนมหวานหรือเครื่องดื่มมากมาย นอกจากรสชาติที่ถูกปาก หรือความรู้สึกสดชื่นหลังรับประทานหรือดื่ม สารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินซี ธาตุเหล็ก โปรตีน แคลเซียม เพราะ มัทฉะ ถือเป็นชาที่มีคุณภาพสูง และ มีราคาแพง มีกรรมวิธีการผลิตที่ ซับซ้อน กว่าจะได้ออกมาเป็น ผงชาบดละเอียด ตั้งแต่กรรมวิธีการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว ไปจนกระทั่งการชง 

Free photo high angle of condiment powder concept

ประโยชน์ของ “มัทฉะ”

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือภาวะผิดปกติบางชนิด มัทฉะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย โดยเฉพาะสารกลุ่มคาเทชิน (Catechins) ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว การบริโภคมัทฉะในรูปแบบของเครื่องดื่มและอาหาร อาจช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัวได้ ดีต่อสุขภาพช่องปาก มัทฉะในรูปแบบชาเขียวเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งในกลุ่มคาเทชินที่ชื่อว่า EGCG หรือสารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต ซึ่งเป็นสารที่ดีต่อสุขภาพในช่องปาก นอกจากนี้ สาร EGCG ยังส่งผลดีต่อสุขภาพในช่องปากด้านอื่นด้วย เช่น ลดการสะสมของสารประกอบซัลเฟอร์ภายในช่องปากที่เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหากลิ่นปาก และอาจช่วยบรรเทาอาการจากโรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis) 

ความแตกต่างระหว่าง มัทฉะ (Matcha) กับ ชาเขียว (Green Tea)

“มัทฉะ” ก็คือชาเขียวชนิดหนึ่ง แต่จะถูกผลิตออกมาในรูปแบบ “ผง” แตกต่างจากชาเขียวชนิดอื่นที่ใช้ใบชาแห้งในการชง เพราะมีลักษณะเป็นเนื้อครีมข้น สีเขียวสดใส และรสชาติหวานกว่าชาชนิดอื่นๆ สายพันธุ์ดีที่ต้อง ปลูกในร่ม เท่านั้น เมื่อใบชาเริ่ม แตกยอด จะมีการป้องกันไม่ให้ใบชา โดนแสงแดด มากเกินไป เป็นขั้นตอนการ ชะลอการเจริญเติบโตของใบชา เพื่อให้ใบชา มีสีเขียวเข้ม ยิ่งขึ้น ใบชาจะมีรสหวาน ไม่ขมฝาด

“ชาเขียว” เป็นเครื่องดื่มที่ถูกชงจากใบชาอบแห้ง ไม่ได้บดละเอียดเหมือนมัทฉะแต่อย่างใด และมีกรรมวิธีการเก็บเกี่ยวและผลิตนั้นที่ซับซ้อนน้อยกว่า นิยมดื่มในชีวิตประจำวัน และ มีการซื้อขายไปทั่วโลก คือ เซนฉะ (Sencha) ที่เพาะปลูกกันทั่วไป ไม่จำเป็นต้องปลูกในร่ม คิดเป็นร้อยละ 60-70 ของชาเขียวในประเทศญี่ปุ่น แม้ เซนฉะ จะเป็นใบชาที่มีก้านแข็ง และ คุณภาพต่ำกว่า แต่มีคาเฟอีนต่ำ

แม้การบริโภคมัทฉะจะดีต่อสุขภาพ แต่ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สะอาด น่าเชื่อถือ บริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ และควบคุมปริมาณน้ำตาลที่มักถูกนำมาปรุงรสร่วมกับมัทฉะเพื่อเพิ่มความน่ารับประทานให้เหมาะสมด้วย นอกจากนี้ ไม่ควรให้เด็กบริโภค เนื่องจากใบชาที่ถูกนำมาทำเป็นผงมัทฉะอาจมีสารปนเปื้อนหรือสารอาหารบางอย่างที่มากเกินพอดีจนส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้หรือเป็นพิษต่อตับและไตได้ 

ที่มา : mgronline.com

Admin: Nam

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *