นพ.คามิน วงษ์กิจพัฒนา รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการแพทย์ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ระบุว่า นอกจากหมู่เลือดที่รู้จักกันดี คือ A B O แล้ว ยังมีหมูเลือดอื่นๆอีก ซึ่งอีกหนึ่งที่มีคือRh+ และ Rh+
ซึ่งเป็นสารแอนติเจนอีกตัวที่อยู่บนเม็ดเลือดแดง คือแอนติเจน D จะเรียกว่า Rh+ หรือ Rh Positive สำหรับคนที่ไม่มีคือ Rh- หรือ Rh negative ซึ่งพบได้น้อยกว่า สำหรับ Rh+ หมู่ DEL หรือ Rh+ (Asian-type DEL) ซึ่งเทคนิคการตรวจใหม่ๆ ก็สามารถตรวจได้
นพ.คามิน ระบุว่า การค้นพบในประเทศไทย ทางศูนย์บริการโลหิตพบรายงานจากโรงพยาบาล ว่า มีผู้ชายเพศชาย อายุ 17 ปี ได้รับเลือดเป็นประจำ หมู่เลือดเดิมเป็น Rh- (Rh negative) ตลอดระยะเวลาได้รับเลือดไปกว่า 20 ยูนิค แต่อยู่ดีๆ คนไข้รายนี้ได้สร้าง Anti-D ขึ้นมาทางศูนย์บริการโลหิตได้ตรวจสอบย้อนหลังกลับไป ก็พบว่ายูนิคที่ได้รับไป มี 5 ยูนิค Rh+DEL สรุปได้ว่า Rh+DELจึงมีความสำคัญ เพราะหากผู้ป่วย Rh- ได้รับ Rh+DEL เข้าไป ก็จะสร้างแอนตี้ D ได้ หลักการให้และรับเลือดของ Rh+DEL
นพ.คามิน ระบุว่า สำหรับผู้บริจาค Rh+DEL จะนำเลือดไปให้กับผู้ป่วย Rh+ หรือ Rh Positive ทั่วไป เนื่องจากกว่าแอนติเจน D อยู่เช่นเดียวกับ Rh+ แต่สำหรับผู้ป่วยRh+DEL ก็สามารถรับเลือด Rh+ได้เช่นกัน
ในปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้พัฒนาให้มีการตรวจเลือด Rh+DEL ขึ้นมาได้ทำให้ผู้บริจาค ที่มี Rh- ทั้งในผู้บริจาคใหม่และผู้บริจาคประจำจะได้รับการตรวจ Rh+DEL ชนิดนี้ด้วยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากพบว่ามีเลือดในหมู่ดังกล่าวทางสภากาชาดจะจัดทำบัตรใหม่ ที่ระบุว่าท่านมีโลหิตหมู่พิเศษ หากตรวจไม่พบก็สามารถใช้บัตรผู้บริจาคเดิมได้ตามปกติ
ที่มา:ไทยรัฐทีวี
No Comments