• 22 November 2024

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.66 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบการดำเนินมาตรการ/โครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2567 ให้แก่ประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

มาตรการลดค่าโอน-จดจำนองปี 2567

มาตรการลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย ปี 2567

มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยมาตรการดังกล่าวจะให้

ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 2% เหลือ 1% ค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ และห้องชุด (ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2) เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา โดยไม่รวมถึงกรณีการขายเฉพาะส่วน ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567

นั่นหมายความว่า ผู้ที่ซื้อบ้านและคอนโดราคาไม่เกิน3ล้านบาทรวมถึงบ้านมือสอง ! จะการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% และการลดค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จากอัตราปกติที่ 1% เหลือ 0.01% โดยเริ่มตั้งแต่วันที่กฎหมายบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2567 ตกตัวอย่าง  บ้านราคา 3ล้านบาท ปกติเสียค่าโอน 60,000บาท เสียค่าโอน 30,000บาท ค่าจดจำนองปกติเสีย30,000บาท เสียแค่300 บาท 

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้ประกอบการอสังหาฯ ระบุว่า การต่อมาตรการดังกล่าวช่วยได้ไม่มากแค่ไม่ให้บอบช้ำไปกว่านี้  ดีกว่าไม่ต่อเพราะยังไม่ได้มีมาตรการอะไรออกมาช่วย เพราะเป็นมาตรการต่อเนื่องที่กำลังจะหมดอายุ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์รวมไปถึงการจดจำนองกับธนาคารเฉพาะกับที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เป็นเซกเมนต์ที่มีจำนวนซัพพลายมากสุดในตลาด ตั้งแต่ปี 2540 ทุกรัฐบาลที่ผ่านมีการใช้มาตรกรอสังหาฯกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนยาสามัญประจําบ้าน

แหล่งที่มา www.bangkokbiznews.com

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *