• 21 November 2024

ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่ ข้อมูล เปรียบเสมือนเป็น เงินสกุลใหม่ และดาต้าเซ็นเตอร์ก็คือห้องนิรภัยที่ปกป้องและขับเคลื่อนข้อมูลเหล่านั้น ปริมาณข้อมูลที่สร้างขึ้นในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 2 เซตตะไบต์ ในปี 2010 เพิ่มเป็น 44 เซตตะไบต์ ในปี 2020 นั่นเป็นการนำไปสู่การสร้างศูนย์ข้อมูล หรือ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ทั่วโลก

เครดิตภาพจาก: visualcapitalist.com

ในปี 2023 ที่ผ่านมา Cushman & Wakefield ได้ประมาณการข้อมูลเกี่ยวกับตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุด ว่ามีดาต้าเซ็นเตอร์มากกว่า 8,000 แห่งทั่วโลก

ดาต้าเซ็นเตอร์ เหล่านี้หลายแห่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์และข้อกำหนดจากรัฐบาลท้องถิ่นและสาธารณูปโภค ขณะที่ดาต้าเซ็นเตอร์เหล่านี้ ยังต้องการพลังงานจำนวนมาก อย่างน้อยต้อง 100 เมกกะวัตต์ขึ้นไปสำหรับแต่ละศูนย์ ทำให้การใช้พลังงานเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการวัดขนาดตลาดของดาต้าเซ็นเตอร์โดยรวม การวัดพื้นที่ดอต้าเซ็นเตอร์จึงนับตามการใช้พลังงานไฟฟ้า ประเทศใดใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุดนั่นหมายถึงประเทศนั้นมีดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่

10 พื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่

  1. เวอร์จิเนียตอนเหนือ
  2. ปักกิ่ง
  3. ลอนดอน
  4. สิงคโปร์
  5. โตเกียว
  6. เซี่ยงไฮ้
  7. ซิดนีย์
  8. ดัลลัส
  9. ซิลิคอน วัลเลย์

แม้ดาต้าเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบสหรัฐอเมริกา แต่บางส่วนก็กระจัดกระจายไปแถบเอเชียและยุโรปด้วย

ส่วนที่หนึ่งคงหนีไม่พ้นแถบเวอร์จิเนียตอนเหนือในสหรัฐ ด้วยดาต้าเซ็นเตอร์ เกือบ 300 แห่ง รวมถึงเซิร์ฟเวอร์ของเอดับบลิวเอส (AWS) จำนวนมาก มันจึงเป็นตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ในประเทศไทยเองแม้ไม่ได้ติดท็อป 10 ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่แนวโน้มอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ของไทยกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการที่อุตสาหกรรมคลาวด์ยักใหญ่เข้ามาลงทุนในไทย หรือการลงนามให้ไมโครซอฟต์เข้ามาตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ที่ไทย นั่นทำให้เห็นว่าตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ของประเทศไทยมีการเติบโตเป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคตอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์จะเติบโตยิ่งขึ้นกว่านี้เช่นกัน

แหล่งที่มา กรุงเทพธุรกิจ

บทความโดย แอดมินเนส

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *