จากข้อมูลเมื่อปี 2566 ระบุว่า ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บที่มีเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวนกว่า 12,923,280 รายการ
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า สัดส่วนการตรวจจับภัยคุกคามบนเว็บในประเทศไทยลดลง 25.28% ที่มี 17,295,702 รายการ ทว่าข้อมูลการตรวจจับภัยคุกคามออฟไลน์นั้นกลับเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ การโจมตีผ่านเว็บเบราว์เซอร์เป็นวิธีการหลักในการแพร่กระจายโปรแกรมที่เป็นอันตราย โดยทั่วไปอาชญากรไซเบอร์มักใช้ประโยชน์จากช่องโหว่บนเว็บเบราเซอร์และปลั๊กอินรวมถึงวิศวกรรมสังคมในการเจาะระบบมากที่สุด โดยส่วนใหญ่แล้ว เวิร์มและไฟล์ไวรัสเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเครื่อง
เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เผยว่าประเทศไทยก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลังเผชิญกับอาชญากรรมทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้คนในประเทศจึงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยที่เกิดจากแอปดูดเงินจากโทรศัพท์
อย่างไรก็ดี การตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น้อยลงหรือมากขึ้น ไม่ได้บ่งชี้ว่าเราปลอดภัยขึ้นหรือเราควรลดการป้องกันลงเสมอไป
ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2565 ถึงวันที่ 20 ธ.ค. 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่า มีการยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์บนเว็บไซต์ของสำนักงานฯ ซึ่งระบุความเสียหายประมาณกว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งหมายความว่าต้นทุนของการโจมตีที่ประสบความสำเร็จเพียงครั้งเดียว สามารถสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและองค์กรได้
รายงานส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นเกี่ยวข้องกับการติดตั้งไดรเวอร์ระบบ การกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูล การหลอกล่อให้เหยื่อลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ภัยคุกคามทางโทรศัพท์ และการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีฉ้อโกง
ที่มาข้อมูลและรูปภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ
เขียนโดย แอดมินแพท
No Comments