• 22 December 2024
ประชาชน รุมค้านร่างผังเมืองรวมกทม.(ปรับปรุงครั้งที่4)เดือด!

ประชาพิจารณ์ผังเมืองรวมกทม. เดือด ประชาชน -นักการเมืองดัง!  เรียกร้องให้ทบทวนจ่อเอื้อนายทุน-อสังหาฯ ตั้งข้อสังเกต ปลดล็อก ขยายเขตทางถนน เกิน10 เมตร -เพิ่ม FAR Bonus   ด้าน กทม.ยัน ปรับเปลี่ยนตามโครงสร้างพื้นฐาน”ชัชชาติ”น้อมรับหากประชาชนไม่เห็นด้วย  

รายงานข่าวจากการประชุมรับฟังความคิดเห็น และปรึกษาหารือประชาชนเกี่ยวกับการวาง และจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร(ปรับปรุงครั้งที่4 ) ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร(ไทย-ญี่ปุ่น)ดินแดง ) เวลา9.00-12.00น. เมื่อวันที่6มกราคม2567 ที่ผ่านมา มีประชาชนประมาณกว่า1,000 ร่วมรับฟังความคิดเห็น ภายหลังจาก โดยเสียงส่วนใหญ่คัดค้านเป็นวงกว้าง

โดยประชาชนร่วมถึงผู้แทนทางการเมืองตั้งข้อสังเกตว่า ทั้งเมืองมีการออกแบบ เพื่อเอื้อต่อผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้สามารถลงทุนพัฒนาสร้างตึกสูงได้  โดยพิจารณาจากมีการกำหนดแนวถนนตามผังเมืองให้กว่ากว่าเดิม 148สายทาง ทั้งเวนคืนตัดถนนใหม่และการขยายเขตทางเดิม  มีเขตทางกว้างตั้งแต่12เมตรขึ้นไป โดยอ้างว่าเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้า

ถือป้ายคัดค้าน ประชาชนรวมตัวกันแถลงจุดยืน ให้ทบทวนผังเมืองรวมกทม.(ปรับปรุงครั้งที่4)ประชาชนรวมตัวกันแถลงจุดยืน ให้ทบทวนผังเมืองรวมกทม.(ปรับปรุงครั้งที่4)

ที่คัดค้านมาก คือ ประชาชนซ.อารีย์สัมพันธ์ ถ.พระราม6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท   ซอยราชครู  รวมถึงย่านฝั่งธนบุรี มีการกำหนดแนวเขตทางของถนน กว้างถึง 16 เมตร  โดยตั้งข้อสังเกตว่า ต้องการปลดล็อก ให้สร้างตึกสูง (เกิน23เมตร) ในซอยได้ เพราะปัจจุบันถนนซอยส่วนใหญ่จะมีเขตทางไม่ถึง10เมตร หรือเฉลี่ย  6-8เมตร ตัวอย่างซอยอารีย์5 หรือ ชาวบ้านเรียกว่าซอยกระทรวงการคลัง กำหนดถนนตามแนวผังเมืองรวม ไว้ที่ความกว้าง16เมตร

ที่สำคัญการกำหนดเขตทางดังกล่าวประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบเรื่องมากก่อน  บางรายระบุว่า ได้รับผลกระทบมากเพราะที่ดินที่ตกทอดเป็นมรดก  กลับมีเขตทางของถนนพาดผ่านเต็มพื้นที่ ทำให้จะขายต่อไม่ได้หรือจะทำอะไรก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เป็นต้น  

อีกประเด็นที่คัดค้านกันมาก ได้แก่การให้    FAR Bonus หรือการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio:FAR) ที่เปิดให้บริษัทพัฒนาที่ดิน สร้างพื้นที่ขายได้มากขึ้นหาก แบ่งปัน หรืออุทิศที่ดินเพื่อสังคมและการสาธารณะ โดยได้สิทธิ์สร้าง พื้นที่ขายเพิ่มได้อีก 20%

เช่น การสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย  ที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ การจัดทำสวนสาธารณะ  ที่จอดรถสาธารณะบริเวณสถานีรถไฟฟ้า แต่เสียงส่วนใหญ่สะท้อนว่า ไม่เชื่อว่าเอกชนจะทำได้จริงรวมถึง ควรถามความต้องการของชุมชนที่อยู่อาศัยในย่านดังกล่าวด้วย ว่าเห็นด้วยหรือไม่และหากมีอาคารสูงเกิดขึ้นในซอยจะทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยมาก่อนได้รับความเดือดร้อนจากรถติดหรือไม่

เช่นเดียวกับผู้แทนชุมชนที่อยู่อาศัยบนที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่มองว่าปัจจุบันที่ดินของการท่าเรือ ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่สีแดง เพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์แต่ประชาชนเรียกร้องขอให้ กทม.ปรับลดพื้นที่ดังกล่าวจากประเภทพาณิชยกรรมเป็นพื้นที่สีเหลืองหรือประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยราว20% เพื่อให้ประชาชน ที่เคยอยู่เดิมสามารถอยู่อาศัยต่อไปได้

ขณะประชาชนหลายรายเช่นกัน เรียกร้องให้ กทม. ปรับเพิ่มการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพราะ

คัดค้านคัดค้าน

ที่ดินของตนเองถูกแช่แข็งมานานเช่น โซนตะวันออกของกทม. พื้นที่เขียวทแยงมีกรอบสีขาว (เขียวลาย) ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกตรกรรม ที่อยู่ในแนวฟลัดเวย์ รวมถึงผู้ประกอบการบริษัทพัฒนาที่ดินรายหนึ่งร้องเรียนว่า

ที่ดินถูกกดทับจากการไม่ปรับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ยังเป็นพื้นที่สีเหลือง รหัส ย.2 หรือ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยเน้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวราบเป็นหลัก ทั้งที่อยู่หากจาก สถานีมีนบุรีเพียง2กิโลเมตร ขณะพื้นที่ติดกันกลับกลายเป็นพื้นที่สีส้ม หรือที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง สามารถพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมได้    

 ด้านผู้แทนจากกรุงเทพมหานคร และคณะที่ปรึกษาจัดทำร่างผังเมืองรวม ระบุว่า การกำหนดเขตทางในผังเมืองรวมเพื่อเป็น เส้นทางย่อยต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้า และเพื่อไม่ต้องเกิดการเวนคืนในอนาคตหาก จำเป็นต้องก่อสร้างถนนเพียงแต่ ก่อนก่อสร้างอาคารให้เว้นระยะถอนร่น ให้ได้ตามขนาดเขตทางใหม่ที่กำหนด เท่านั้น  โดยยืนยันจะไม่เวนคืน เพื่อก่อสร้างถนนโดยทันที

คัดค้านคัดค้าน

 ที่เป็นหัวใจสำคัญ การวางและจัดทำผังเมืองรวมฯฉบับดังกล่าวเพื่อยกระดับเป็นมหานครแห่งเอเชีย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับนานาอารยประเทศ เพื่อผลักดันให้กทม.เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน จุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลก จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน บก-ราง-น้ำ-อากาศ

โดยเฉพาะ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่กำลังจะเกิดขึ้นและรถไฟฟ้าสายใหม่ ทำให้ต้องรองรับการขยายตัวของเมือง จึงต้องเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในหลายพื้นที่ ให้สอดคล้องกับกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นพระราม9  มักกะสัน สถานีกลางอภิวัฒน์ (บางซื่อ ) ที่ปรับเป็นพื้นที่สีแดง และเป็นศูนย์กลางรอง ขณะ มีนบุรี มีรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีชมพูตัดกันกลายเป็นชุมทางใหญ่ พื้นที่บริเวณกว้างรอบสถานีจึงกำหนดเป็นพื้นที่สีแดงย่านศูนย์กลางรอง หรือ ย่านพาณิชยกรรมชุมชนชานเมือง เป็นต้น   

ล่าสุดนายชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(ผู้ว่าฯกทม.) ระบุว่า ปัจจุบันผังเมืองรวมฯดังกล่าวอยู่ระหว่างยกร่างหากประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยก็พร้อมทบทวน

แหล่งที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *