• 27 July 2024

“ภาวะลำไส้ขี้เกียจ” เมื่อพูดถึงเรื่องลำไส้แล้ว การใช้งานโดยส่วนใหญ่ก็ต้องเกี่ยวข้องกับการขับถ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นแล้ว เรามาเตรียมตั้งรับกับปัญหาดังกล่าวนี้กัน

“ภาวะลำไส้ขี้เกียจ” คืออะไร ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหาร น้ำ และเกลือแร่ บีบตัว ขับกากอาหารออกจากร่างกาย เมื่อลำไส้ทำงานได้ช้าลง จะส่งผลให้ไม่สามารถบีบขับกากอาหารออกมาได้ตรงตามเวลา หรือทำให้มีการขับถ่ายที่ยากขึ้น หรือรู้สึกอยากถ่ายน้อยลง ซึ่งโรคลำไส้ขี้เกียจเกิดจากกล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาทของลำไส้นั้นมีการทำงานน้อยลง จึงทำให้มีอาการแน่นท้อง ท้องผูก หรือถ่ายเหลวได้ โดยการวินิจฉัยภาวะนี้จะต้องแยกจากโรคในลำไส้อื่นๆ 

ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่างทั้งทางร่างกาย เช่น การเป็นแผล การเกิดริดสีดวง หรือมีความเจ็บปวดขณะขับถ่าย รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสร้างความทุกข์ทรมานในชีวิตได้

การป้องกันและรักษา ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่าวันละ 2 ลิตร หรือ 6-8 แก้วต่อวัน รับประทานอาหารที่มีกากใยให้เยอะขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ อาจเป็นผักต้มสุก 4-5 ทัพพีต่อวัน หรือผักผลไม้สด 8 ทัพพีต่อวัน หลีกเลี่ยงอาหารมัน ของทอด อาหารที่มีไขมันสูง ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ไม่กลั้นอุจจาระ แนะนำให้เข้าห้องน้ำเมื่อปวดทันที หรือในกรณีที่ไม่สามารถเข้าห้องน้ำทันทีได้ ให้สังเกตพฤติกรรมตัวเองว่าจะรู้สึกปวดท้องเข้าห้องน้ำเมื่อไหร่ และคำนวณเวลาเพื่อเตรียมเข้าห้องน้ำในเวลานั้น ๆ

ที่มา : mgronline.com

(แอดมิน ฟีน)

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *