• 12 September 2024

ที่ประชุมฯ มีมติอนุมัติให้ ครม. รับร่างไปพิจารณาเป็นเวลา 15 วัน ก่อนนำกลับเข้าสภาเพื่อลงมติวาระที่ 1 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล จึงลุกขึ้นประท้วงว่า กฎหมายประมงฉบับนี้ สภาชุดที่แล้วมีการตั้งคณะกรรมการวิสามัญ มีรายงานออกมาชัดเจนแล้ว สมัยนี้ก็มีการตั้ง กมธ.วิสามัญอีก 7 ร่างที่เสนอผ่านพรรคการเมืองทุกพรรค มีความปรารถนาดีต่อพี่น้องชาวประมง มีหลักการสำคัญตรงกัน ดังนั้นต้องถามว่าเกิดอะไรขึ้น รัฐมนตรีไม่ได้ชี้แจงเลย

“ที่สำคัญที่สุด มีชาวประมงกี่คนที่ต้องสิ้นเนื้อประดาตัว ครอบครัวชาวประมงอีกกี่แสนกี่ล้านชีวิตที่เขารอกฎหมายฉบับนี้ เพราะความเกียจคร้านของรัฐบาลหรือ ที่เขาต้องรออีก 60 วัน ท่านจะตอบแทนชีวิตของชาวประมงที่ล่วงลับไปแล้ว และชีวิตของชาวประมงที่รอกฎหมายฉบับนี้อย่างไร ขอคัดค้านไม่ให้รัฐบาลอุ้มร่างนี้ ถ้ารัฐบาลจะอุ้ม ต้องตอบชาวประมงให้ได้” นายวิโรจน์ กล่าว

ด้านนายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ร่าง พ.ร.บ.การประมง ของรัฐบาลออกมาแล้ว พึ่งอนุมัติเมื่อ 30 มกราคม 2567 และให้กฤษฎีกาไปตรวจร่างกฎหมายอยู่ ไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาแล้ว เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร คงไม่มีการช้าไปกว่าการที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้บอก และนี่คือเหตุผลว่า คณะรัฐมนตรีได้มีร่างพระราชบัญญัติมาแล้ว

“เจตนาของคณะรัฐมนตรีตอนนี้ คือรอให้สภาพิจารณากฎหมาย แล้วก็มาขออุ้มไป 60 วัน ร่างไหนเข้าสภาเมื่อไหร่ค่อยเริ่มทำงาน เลิกเรียกตัวเองว่าเป็นรัฐบาลมืออาชีพ แบบนี้เป็นได้แค่รัฐบาลเช้าชามเย็นชาม งานมาถึงมือเมื่อไหร่ค่อยทำ ระเบียบวาระระบุมา 3-4 เดือน ไม่เคยเอาไปศึกษา ขอร้องให้คณะรัฐมนตรีตั้งใจทำงานมากกว่านี้ ให้เกียรติอำนาจนิติบัญญัติที่เป็นอำนาจระนาบเดียวกับท่าน ให้เกียรติประชาชนที่เลือกท่านมาใช้อำนาจให้มากกว่านี้” นายปกรณ์วุฒิ กล่าว

ที่มา : thairath.co.th แอดมินเนย

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *