• 19 September 2024

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กูเกิล Google สุดยอดยักษ์ใหญ่ด้านไอทีของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศสร้างความร่วมมือกับกองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อม (Environmental Defense Fund)  เพื่อหาแหล่งที่มาของก๊าซมีเทน โดยใช้ดาวเทียมดวงใหม่ในการตรวจจับแหล่งที่มาดังกล่าว

ดาวเทียม มีเทนแซต (MeteaneSAT) หรือดาวเทียมดวงใหม่สำหรับตรวจจับก๊าซมีเทนจะถูกนำขึ้นสู่อวกาศในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นหนึ่งในดาวเทียมหลาย ๆ ดวงที่นำมาใช้ติดตามการปล่อยก๊าซมีเทนทั่วโลก ภารกิจดังกล่าวอาศัยความร่วมมือระหว่างกองทุนปกป้องสิ่งแวดล้อม องค์การอวกาศแห่งนิวซีแลนด์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และพันธมิตรอีกหลายราย ร่วมมือกันเพื่อให้โลกน่าอยู่ขึ้น

โดยกูเกิลจะสร้างแผนที่โครงสร้างการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ ด้วยเทคโนโลยี AI จากนั้นข้อมูลการปล่อยก๊าซมีเทนที่ถูกเก็บโดยดาวเทียมมีเทนเซตจะมาซ้อนทับข้อมูลของกูเกิลแมป เพื่อระบุว่าอุปกรณ์ขุดเจาะก๊าซและน้ำมันประเภทใดมีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซมีเทนออกสู่บรรยากาศมากที่สุด

รูปภาพจาก : methanesat

แล้วข้อมูลดังกล่าวนี้ สามารถค้นหาได้จากแพลตฟอร์มกูเกิลเอนจิน (Google Earth Engine) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มฟรี สามารถเข้าดูได้ เปิดให้บริการทุกคน

“เราคิดว่าข้อมูลนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับบริษัทพลังงาน นักวิจัย และภาครัฐ ในการคาดการณ์และลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากแหล่งที่มีความเสี่ยงสูงสุด”

นายยาเอล แมไกวร์ รองประธานฝ่ายความยั่งยืนทางภูมิศาสตร์ของกูเกิล กล่าว

อย่างที่ทราบกันดีว่าก๊าซมีเทน เป็นก๊าซเรือนกระจกที่จะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน การมีเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีช่วยตรวจจับการปล่อยก๊าซมีเทน จะช่วยให้สามารถควบคุมการเกิดก๊าซเรือนกระจก และช่วยลดภาวะโลกร้อนได้

ที่มาของข้อมูลจาก : สำนักข่าวอินโฟเควสท์

บทความโดย แอดมินเนส

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *