• 12 September 2024

เฝ้าระวัง จีนส่งออก “ภาวะเงินฝืด” ทุ่ม สินค้าราคาถูก-ไม่มีมาตรฐาน-หนีภาษี ตั้งแต่ตรุษจีน ปี 2021 หุ้นจีนปรับลดลงมาแล้วกว่า -40% ซึ่งสวนทางกับหุ้นสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นเกือบ +30% อย่างสิ้นเชิง นี่เป็นเพียงภาพผลกระทบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับ “ปัญหาเศรษฐกิจจีน” ในยามนี้ ซึ่งมาจากความเปราะบางทางเศรษฐกิจ เมื่อครั้งจีนล็อกดาวน์โควิด-19 และถูกตอกย้ำด้วยวิกฤติอสังหาฯ ครั้งใหญ่ ปี 2022 ยืดเยื้อยาวนาน นำมาสู่วัฏจักรเชิงลบ ทั้งระบบของการลงทุนใหม่ แม้จีนจะอยากพึ่งพาอสังหาฯ น้อยลงก็ตาม

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยวานนี้ (11 ก.พ.) ระบุมีการคาดการณ์ว่า ภาวะเงินฝืดของจีน และ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง มีโอกาสจะยืดเยื้อไปได้อีกเกิน 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งภาวะเงินฝืดที่ค่อนข้างรุนแรงของจีนครั้งนี้ท่ามกลางบริบทที่มี อัตราเงินเฟ้อ ติดลบมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มี อุปทานส่วนเกิน ใน ภาคอสังหาริมทรัพย์ และ ภาคการผลิต ทำให้อุปสงค์ภายในจีนที่ยังอ่อนแอไม่สามารถดูดซับได้

ทั้งนี้ จีนส่งออกภาวะเงินฝืดผ่านการทุ่มตลาด การที่ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ได้เกิดสภาวะเงินฝืด ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคชะลอการซื้อ เพราะคาดว่าราคาจะปรับลดลงอีก ผู้ผลิตชะลอการผลิต เพราะขายไม่ได้ราคา ภาวะเงินฝืด มักเกิดขึ้นเมื่อมีอุปทานสูง คือมีส่วนเกินของผลผลิตมากจากการลงทุนส่วนเกินหรือลงทุนอย่างไม่ระมัดระวัง และมีอุปสงค์ต่ำ การบริโภคลดลงมาก หรืออุปทานเงินลดลง และดอกเบี้ยสูง

Photo arrow falls against the background of the flag of the china

ภาวะเงินฝืดและเงินเฟ้อลดต่ำลงดังกล่าว ยังเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ทำให้ผลิตภาพของแรงงานและทุนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก การเปิดเสรีที่ทำให้การแข่งขันมากเกินไป ภาวะเงินฝืดเป็นภาวะเจ้าหนี้ได้ประโยชน์ ขณะที่ภาระหนี้แท้จริงของลูกหนี้เพิ่มขึ้น มูลค่าแท้จริงของหนี้สินสูงขึ้น และเป็นภาวะที่คนที่ถือเงินสดได้ประโยชน์ เพราะอาจเกิดโอกาสของการลงทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำได้มากขึ้น

แหล่งที่มา : Thirath

ADMIN SPY

 

 

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *