แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เผยรายงาน “ความปลอดภัยทางไซเบอร์” ฉบับล่าสุด ประจำปี 2566 สำหรับประเทศไทย โดยระบุว่า ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตีที่เป็นอันตรายที่เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทยจำนวน 324,295 เหตุการณ์ ลดลงกว่าปีที่แล้ว 10.96% ที่มี 364,219 เหตุการณ์

ตัวเลขดังกล่าวลดลงในช่วงที่เกิดโรคระบาดในปี 2563 – 2564 ทว่า ในปี 2565 ตัวเลขกลับพุ่งสูงขึ้นถึง 89.48% และค่อยลดลงเล็กน้อยในปีที่ผ่านมาจำนวน 324,295

เหตุการณ์ดังกล่าว แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เผยว่า ตัวเลขที่ลดลงไม่ได้สะท้อนถึงสถานการณ์ที่ดีขึ้น กลับกันพบว่าการละเมิดข้อมูลในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด กล่าวได้ว่าภาพรวมของภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นรุนแรงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้

'แคสเปอร์สกี้' พบ 'ข้อมูลรั่วไหล' ปัญหาแก้ไม่ตก องค์กรธุรกิจทั่วอาเซียน
“แคสเปอร์สกี้” เปิดรายงาน “ความปลอดภัยทางไซเบอร์” ล่าสุด พบการโจมตีที่เป็นอันตรายจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทยกว่า 3 แสน

เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์แฮกเกอร์ชื่อ 9near ได้ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองไทยจำนวน 55 ล้านรายการจากแอปพลิเคชันหมอพร้อมของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งให้บริการนัดหมายการฉีดวัคซีน

และอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การขโมยสามารถเกิดขึ้นได้หากผู้โจมตีมีข้อมูลบัญชีธนาคารของเหยื่อ กลุ่มชายสามคนขโมยและขายข้อมูลส่วนบุคคลจำนวน 15 ล้านชุดที่รวบรวมโดยการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บแทนที่จะเป็นแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ

จากรายงาน eConomy SEA 2023 เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียนตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) คาดว่าจะสร้างรายได้ 1 แสนล้านดอลลาร์ และประเทศไทยถูกคาดว่าจะยังคงเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาค ในแง่ของมูลค่าสินค้ารวม (gross merchandise value – GMV) ระหว่างปี 2023 ถึง 2030 คาดว่ามูลค่าสินค้ารวมจะสูงถึง 100-165 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 เพิ่มขึ้นจาก 49 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025 และ 36 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023

แคสเปอร์สกี้ คาดการณ์ว่าขนาดของภัยคุกคามออนไลน์และการละเมิดข้อมูลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

เนื่องจากช่องว่างเรื่องความรู้ด้านเทคนิคและกฎหมายในการจัดการกับภัยคุกคาม การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นใจเรื่องการป้องกันโดยรวมของภูมิภาคต่อการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจสร้างความเสียหายได้ ดังนั้น การปกป้องเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลจากการโจมตีทางไซเบอร์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความลับ ความสมบูรณ์ ความพร้อมใช้งาน ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของบริษัทหรือองค์กร

ที่มาข้อมูลและรูปภาพ กรุงเทพธุรกิจ

เขียนโดย แอดมินแพท

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *