• 27 July 2024

โรคไต  เป็นโรคที่เกิดจากการกินที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ถูกหลักโภชนาการ การทานอาหารที่ไม่มีความสมดุล ทานบางอย่างมากเกินไป สะสมนานๆอาจเป็นโรคไตได้

Free photo pain and stomache old senior asian grandfather in patient uniform suffer from body problem health ideas concept

ฟอสฟอรัส ตัวอันตรายสำหรับผู้ป่วยโรคไต

ไต นอกจากโซเดียมที่เป็นตัวการสำคัญของโรคไต และความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีฟอสฟอรัสอีกตัวที่จะทำให้อาการของโรคไตแย่ลง เพราะเมื่อไตของเราเสื่อมลง ก็จะมีความสามารถในการกรองเอาสารอาหารประเภทฟอสฟอรัสออกมาได้น้อยลง นั่นแปลว่า ทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสเข้าไปมากเท่าไร มันก็สะสมอยู่ในร่างกายไม่ออกไปไหนเสียที ทั้งที่จริงๆ แล้ว คนที่ไตทำงานปกติ ไตจะกรองเอาสารอาหารที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายออกให้ แต่ทีนี้พอฟอสฟอรัสไม่ยอมออกไปเลย ก็เลยทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ฟอสฟอรัส ทำร้ายร่างกายผู้ป่วยโรคไตได้อย่างไร

ผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการแจ้งจากแพทย์ว่า กำลังอยู่ในภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง สังเกตอาการได้ง่ายๆ คือจะรู้สึกผิวหนังดำคล้ำมากขึ้น คันยิบๆ ตามตัว หรือหากเป็นหนักๆ นานเข้า อาจถึงขั้นกระดูกเปราะ หรือหักได้ง่าย นอกจากนี้อาจมีอาการต่อมพาราไทรอยด์โต และซ้ำร้าย อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ใช้ในการฟอกเลือด สำหรับคนที่กำลังฟอกไตอยู่ได้

อาหารที่ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยง (นอกจากอาหารรสจัดแล้ว ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง)เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาเขียวใส่นม น้ำอัดลม โกโก้/ช็อคโกแลต ผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น ชีส โยเกิร์ต ไอศรีมที่ทำจากนม ขนมเบเกอรี่ต่างๆ เป็นต้น

อาหารที่ผู้ป่วยโรคไต ควรทาน (ถ้าให้จำง่ายๆ คืออาหารที่มีสีจืดๆ สีไม่เข้ม) เช่น ไข่ขาว ปลา เนื้อ หมู ไก่ น้ำขิง ชาไม่ใส่นม ถึงแม้อาหารเหล่านี้จะทานได้ แต่ก็ไม่ควรทานจนมากเกินไป ควรรักษาสมดุลของอาหารให้ดี และทานอาหารให้หลากหลาย ไม่จำเจเหมือนเดิมในทุกๆ มื้อ เพื่อให้ได้สารอาหารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ใครที่ต้องทานยาจับฟอสฟอรัส ก็อย่าลืมทานพร้อมอาหารอย่างสม่ำเสมอด้วย ช่วยให้ฟอสฟอรัสไม่สูงได้เป็นอย่างดี ถ้าเราควบคุมปริมาณฟอสฟอรัสในเลือดได้ อาการโรคไตของเราก็จะดีขึ้นตามลำดับ โรคไตสู้ได้ ไม่ต้องกลัวค่ะ

แหล่งที่มา:sanook

แอดมิน: ปิงปอง

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *